สรุปเนื้อหาที่ได้จากการดูวิดิทัศน์
ในวิดิทัศน์จะพูดถึงการเขียนบรรณานุกรมและหนังสืออ้างอิง ว่ามีความสำคัญอย่างไร ถ้าจะเขียนต้องทำให้ถูกต้องและชัดเจนมีแหล่งที่มาที่ชัดเจน ถูกต้องตามหลัก
บรรณานุกรม ( Bibliography ) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าประกอบการเขียนรายงาน และนํามาอ้างอิงไว้ท้ายเล่มความสําคัญของบรรณานุกรม
ในการศึกษาค้นคว้าและเขียนรายงานเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จำเป็นจะต้องรวบรวมบรรณานุกรมไว้ท้ายเล่มเสมอ ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้
1. เพื่อแสดงว่ารายงานฉบับนั้นเป็นรายงานที่มีเหตุผล มีสาระน่าเชื่อถือได้
2. เพื่อแสดงว่าผู้เขียนรายงานเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้แต่งหนังสือที่ได้นํามาใช้ประกอบการเขียนนั้น
3. เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้สนใจได้ศึกษารายละเอียด หรือข้อเท็จจริงที่นํามาประกอบการเขียนเพิ่มเติมได้อีก
4. เพื่อตรวจสอบหลักฐานดั้งเดิมที่ผู้เขียนนํามาประกอบในรายงาน
การรวบรวมบรรณานุกรม
มีวิธีการและข้อควรปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
1. ทรัพยากรสารนิเทศที่นํามาจัดทําบรรณานุกรม ต้องเป็นทรัพยากรสารนิเทศที่ใช้ค้นคว้าและที่นำมาอ้างอิงในรายงานเท่านั้น
2. การเขียนบรรณานุกรมของสิ่งพิมพ์ สามารถหาข้อมูลได้จากหน้าปกใน (TitlePage) เนื่องจากมีข้อมูลที่จำเป็นสําหรับการเขียนบรรณานุกรม หากข้อมูลที่ต้องการมีไม่ครบ ให้ใช้ข้อมูลจากปกนอก หรือจากส่วนอื่นของสิ่งพิมพ์
3. การเขียนบรรณานุกรม ให้เริ่มอักษรตัวแรกของบรรณานุกรมที่ระยะชิดขอบ หรือ***งจากขอบกระดาษด้านซ้าย 1.5 นิ้ว ถ้าข้อความบรรทัดแรกไม่จบ ให้ขึ้นบรรทัดที่ 2, 3 ใหม่ โดยเริ่มที่ระยะย่อหน้า
4. กรณีที่ใช้ทรัพยากรสารนิเทศหลายชื่อเรื่อง ของผู้แต่งคนเดียวกัน การลงรายการครั้งแรกให้ลงตามหลักเกณฑ์ ส่วนการลงบรรณานุกรมลําดับต่อไปให้ขีดเส้นตรง 1 นิ้ว แทนชื่อผู้แต่ง แล้วลงรายการ อื่น ๆ ให้สมบูรณ์
5. หากทรัพยากรสารนิเทศใดไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อเรื่อง หรือ ชื่อบทความ เป็นรายการแรกแทนชื่อผู้แต่ง
6. หากรายการที่นํามาจัดทําบรรณานุกรมมีทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้เรียงภาษาไทยก่อนภาษาต่างประเทศ
7. การเรียงลําดับทรัพยากรสารนิเทศในบรรณานุกรม ให้เรียงตามลำดับอักษรตัวแรกของรายการนั้น ๆ ตามแบบพจนานุกรม โดยไม่ต้องใส่หมายเลขลําดับที่ของรายการ
หลักการเขียนบรรณานุกรม
1. ค้นหารายละเอียดของสิ่งพิมพ์เพื่อเขียนบรรณานุกรมจากหน้าปกใน หากมีไม่ครบให้ค้นหาจากส่วนอื่น ๆ ของสิ่งพิมพ์
2. การเขียนบรรณานุกรม ให้ขึ้นต้นรายการแรกด้วยชื่อผู้แต่ง หากไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ให้ใช้ชื่อหนังสือหรือชื่อบทความเป็นรายการแรกแทน
3. เริ่มเขียนอักษรตัวแรกของบรรณานุกรมชิดขอบกระดาษที่เว้นไว้ประมาณ 1.5 นิ้ว หากเขียนไม่จบในบรรทัดเดียวให้ขึ้นบรรทัดใหม่ เว้นระยะเข้าไป 7 ช่วงตัวอักษร เริ่มเขียนในระยะที่ 8
4. ในรูปแบบบรรณานุกรม เครื่องหมายถูก หมายถึงการเว้นระยะ ในการเขียนบรรณานุกรม ไม่ต้องใส่เครื่องหมายลงไป
หลักการเรียงบรรณานุกรม
1. จัดเรียงตามล าดับอักษรตัวแรกของรายการบรรณานุกรม (ใช้หลักการเรียงตัวอักษรตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน)
2. หากมีรายการบรรณานุกรมทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ให้แยกเป็น 2 ภาษา โดยจัดเรียงภาษาไทยไว้ก่อนภาษาต่างประเทศ
การอ้างอิง หมายถึง การบอกรายละเอียดของแหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในการศึกษา ค้นคว้า ซึ่งนําเสนอในรูปของรายงาน ภาคนิพนธ์ บทความ หนังสือวิชาการ และรายงานการวิจัย
ความสําคัญของการอ้างอิง
1. เพื่อให้ผู้อ่านหรือผู้ที่มาศึกษาค้นคว้า สามารถตรวจสอบหรือติดตามศึกษาเพิ่มเติมได้
2. เพื่อให้เกียรติแก่ผู้แต่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิง
3. เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือแก่ผลงาน ให้กับผู้ที่ได้อ่าน
วิธีเขียนอ้างอิงและบรรณานุกรม จะปรากฏอยู่ทั้งส่วนเนื้อหาและท้ายเล่ม คือ
1. ส่วนเนื้อหา คือ รายการอ้างอิง (Reference List) ซึ่งจะมีรูปแบบการอ้างอิงที่ใช้อยู่ ทั่วไป 3 แบบ ได้แก่ แบบเชิงอรรถ แบบแทรกในเนื้อหา และแบบอ้างอิงท้ายบท
2. ส่วนท้ายเล่ม คือ บรรณานุกรม (Bibliography) ซึ่งได้แก่ รายละเอียดของ แหล่งสารนิเทศที่ใช้อ้างอิงในเนื้อหาทุกรายการ ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจจะเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลายๆ แนว แล้วนํามาเรียบเรียงใหม
วิธีเขียนอ้างอิง
1. การอ้างอิงแบบเชิงอรรถ (Footnote) เป็นการอ้างอิงที่แยกการอ้างอิงออกจากเนื้อหาโดยเด็ดขาด โดยให้อยู่ส่วนล่างสุดของ หน้ากระดาษแต่ละหน้า
2. การอ้างอิงท้ายบท เป็นการอ้างอิงที่สะดวก เนื่องจากไม่ต้องพะวงการกะระยะเนื้อที่แต่ละหน้าของบทนิพนธ์ เพื่อเผื่อเขียนอ้างอิงเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ เพราะการอ้างอิงทั้งหมดจะไปรวมอยู่หน้า สุดท้ายของแต่ละบท
3. การอ้างอิงแบบแทรกในเนื้อหา เป็ นการอ้างอิงที่อยู่รวมกันกับเนื้อหา ไม่แยกกันคนละส่วนเหมือนการอ้างอิงแบบเชิงอรรถ หรือแบบการอ้างอิงท้ายบท ทําให้รูปแบบการอ้างอิงกะทัดรัด และยืดหยุ่นกว่า เพราะสามารถ เขียนชื่อผู้แต่งให้กลมกลืนไปกับเนื้อหาได้ หรือจะแยกใส่ไว้ในวงเล็บก็ได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น